ไฟกับควัน

อาจารย์ ญาณิโก

ไฟกับควัน

เมื่อต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 มีโยมเอื้ออารีผู้อาศัยอยู่ที่วัดประสงค์จะนำหลวงพ่อปสันโนไปเที่ยวชมธรรมชาติชายฝังแถบบิ้กเซอร์ ที่เขาเองก็ยังไม่เคยไปมาก่อน และมีพวกเราชาววัดอีกสองสามรูปร่วมเดินทางไปด้วยเป็นเวลาสามวัน ในวันที่สอง เรารับภัตตาหารฉันกันกลางแจ้งที่บิ้กครีกแคนย่อน ที่โต๊ะแผ่นไม้เรดวู้ดขนาดใหญ่ ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติชายทะเลอันเขียวขจีงดงามยิ่ง

แล้วฤดูกาลแห่งไฟป่าก็ตามมา จนถึงวันสุดท้ายแห่งเดือนสิงหาคมควันไฟปกคลุมหนาทึบที่วัดเรา ไฟไหม้ใกล้ที่สุดอยู่ย่านภูเขาฮัล ราว 20 ไมล์ไปทางตะวันออก ทว่า เราไม่แน่ใจว่าควันไฟมาจากไหนกันแน่ เนื่องจากยังมีแหล่งไฟป่าเกิดอยู่แถบซานตาโรซ่าและซานตาครู้ซด้วยเช่นกัน หลังจากถูกอบอวลด้วยควันไฟอยู่หลายวัน พวกเราก็เริ่มคันคอและแสบตาพร้อมกับเรี่ยวแรงน้อยลง

ต่อมาในวันที่ 7 กันยายน เกิดไฟป่าโอ้กส์ขึ้นใกล้วัดอภัยคีรีเข้ามายิ่งขึ้น ทางเหนือของเมืองวิลลิส พอบ่ายคล้อยดวงอาทิตย์ก็หายไปจากท้องฟ้า และทุกสิ่งโดยรอบดูเป็นสีแดงฉาน เป็นเช่นนั้นอยู่สองสามวัน แล้วก็ตามมาด้วยฝุ่นเถ้าตกลงมาต่อเนื่องราวหนึ่งสัปดาห์ คณะสงฆ์ได้รับโทรศัพท์ทางไกลจากหลวงพ่อเปี๊ยกที่ประเทศไทย ด้วยความห่วงใยว่าพวกเรายังอยู่ดีหรือไม่ เป็นกำลังใจที่ซาบซึ้งสำนึกใจยิ่ง

และแล้ว…บิ้กเซอร์ แถบที่คณะเราได้รับถวายภัตตาหารเมื่อต้นเดือนสิงหาคม ก็ได้มอดไหม้ลง

ย้อนไป… เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ชาววัดอภัยคีรีต้องอพยพหนีไฟที่ใกล้เข้ามา มาครั้งนี้มีแต่ควันตลบ ไม่มีไฟ อย่างน้อยทัศนวิสัยคงกระจ่างสักวัน ในปีนี้ฝ่ายป้องกันไฟป่าคาลไฟร์พยายามอย่างเต็มที่ในการสก้ดไฟขนาดใหญ่ไม่ให้ลุกลามมากหลังจากเกิดขึ้นมาหลายจุดด้วยเหตุฟ้าผ่ามากมายผิดฤดูกาล แม้ลมจะสงบและความชื้นมีมากพอควรในช่วงแรกที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่ควบคุมไฟได้ดี ทว่าสภาพอากาศกลับพลิกผันมาเป็นความแห้งและร้อนจัดอยู่ยาวนาน

ดังปรากฏในพระสุตตันตปิฎก จริยาปิฏก วัฏฏกชาดก อรรถกถาชาดก ที่กล่าวถึงอดีตชาติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งเกิดเป็นลูกนกคุ่ม และ วัฏฏกปริตร คือ สัจจะอธิษฐานของลูกนกคุ้มพระโพธิสัตว์เพื่อป้องกันไฟป่า โดยทรงเล่าไว้ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จออกบิณทบาตรกับพระภิกษุหลายรูปเกิดมีไฟป่าลุกลามมาใกล้หมู่บ้าน จนถึงที่ที่พระตถาคตประทับยืน และก็ดับลงในทันใด สงบ ถอยร่นไป ภิกษุทั้งหลายต่างฉงน พระศาสดาจึงตรัสเล่าดังนี้ -

“หาใช่อานุภาพของตถาคตในปัจจุบันไม่ ทว่าเป็น ‘พลานุภาพแห่งสัจจะ’ อันมีมาแต่กาลก่อนของเรา ให้ไฟจักไม่ลุกไหม้ราวปาฏิหาริย์ตลอดนิรันดร์กาล”

ลำดับนั้น พระอานนท์ปูลาดสังฆาฏิให้พระศาสดาประทับนั่งลง ฝ่ายสงฆ์ก็ถวายบังคมพระตถาคต แล้วนั่งล้อมรอบอยู่พร้อมทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้ปรากฏแล้ว
แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ส่วนเรื่องอดีตยังลี้ลับ ขอพระองค์โปรดเล่าให้กระจ่างด้วยเถิด” จึงทรงนำเรื่องอดีตอันเป็นชาดกมาเล่าดังต่อไปนี้ -

‘ในอดีตกาลนานมา ณ แคว้นมคธ พระโพธิสัตว์ ถือปฏิสนธิในกำเนิดนกคุ่ม
ในเวลาทำลายกะเปาะฟองไข่ออกมา ได้เป็นลูกนกคุ่ม บิดามารดาให้พระโพธิสัตว์นั้นนอนในรัง แล้วนำอาหารมาเลี้ยงดูด้วยจงอยปาก ยังไม่มีกำลังที่จะเหยียดปีกออกบินไปในอากาศ หรือไม่มีกำลังที่จะยกเท้าเดินไปได้’

‘และแล้วก็เกิดไฟป่าไหม้เผาหญ้าและไม้ใหญ่ไปทั่ว หมู่นกพากันบินหนีออกจากรัง ต่างกลัว
ต่อมรณภัย ส่งเสียงร้อง แม้แต่บิดามารดาของพระโพธิสัตว์ก็กลัวจึงทิ้งลูกนกนี้ไว้ตามลำพัง ลูกนกชะเง้อคอแลเห็นไฟป่ากำลังไหม้ตลบมา จึงคิดว่า ถ้าเรามีกำลังจะเหยียดปีกออกบินไปในอากาศไซร้ เราก็จะพึงโบยบินไปที่อื่น ถ้าเรามีกำลังที่จะยกเท้า เดินไปบนบกได้ไซร้ เราก็จะย่างเท้าไปที่อื่นเสีย ฝ่ายบิดามารดาของเราก็กลัวมรณภัย ทิ้งเราไว้แต่ผู้เดียว บัดนี้ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี เราจะทำอย่างไรหนอ’

ณ เวลานั้น ลูกนกพระโพธิสัตว์ก็คิดขึ้นมาว่า พลังแห่งศีล ย่อมมีอยู่ในโลกนี้
พลังแห่งสัจจะ ก็ย่อมมี ในอดีตกาลพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายประทับนั่งที่พื้นต้นโพธิ ได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งแล้ว ทรงเพียบพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ทรงประกอบด้วยสัจจะ ความเมตตา กรุณา และขันติ ทรงรู้แจ้งแล้ว
เออ ก็ความสัจจะอย่างหนึ่ง ย่อมมีอยู่ในเราแท้ สภาวธรรมอย่างหนึ่งย่อมมีปรากฏอยู่ เพราะฉะนั้น เราจะรำลึกถึงอดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และคุณทั้งหลายที่ท่านเหล่านั้นรู้แจ้งแล้ว
ถือเอาสภาวธรรม สร้างพลานุภาพแห่งสัจจะในเรา กระทำสัจกิริยา ให้ไฟถอยกลับไป กระทำความปลอดภัยแก่ตนและหมู่นกที่เหลือในวันนี้ด้วยเถิด”

ในบัดดล ไฟป่าก็ถอยร่นไป 16 เอเค้อร์ หรือกว่า 40ไร่ แล้วดับลงราวคบเพลิงพุ่งสู่น้ำ เหลือพื้นที่ปลอดภัยเป็นวงกว้างรอบนกคุ่มน้อยราว 32 เอเค้อร์ หรือกว่า 80ไร่

แม้นิทานชาดกจะเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับอดีตชาติของพระพุทธเจ้า แต่บทสวดมนต์ดังเช่นวัฏฏกปริตร นั้น ก็ช่วยเตือนใจเราให้ระลึกถึงพลานุภาพแห่งสัจจะและศีล ภาพประกอบเรื่องเล่าเรื่องนี้มาจากบิ้กครีกแคนย่อนที่ถ่ายหลังจากไฟป่าที่นั่น โต๊ะแผ่นไม้เรดวู้ดคือตัวเดียวกับที่พวกเรารับและฉันบิณฑบาตรเมื่อต้นเดือนสิงหาคม ใครจะยืนยันได้ว่าเหตุไฉนโต๊ะยังอยู่ จะเป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ ที่แผ่นไม้ใหญ่นั้นรอดพ้นจากการถูกเพลิงไฟเผา ที่แน่นอนก็คือ คณะญาติโยมผู้ถวายอาหารในวันนั้นต่างเพิ่มแรงศรัทธา อันเป็นคุณสมบัติของธรรมะอันมีค่ายิ่ง

๗ – แนวคิดอันลื่นไหล

อาจารย์ ญาณิโก

๗ – แนวคิดอันลื่นไหล

เรารู้จักขอบเขตของวัดตามธรรมเนียมแต่โบราณที่เรียกว่า สีมาหรือพัทธสีมา กำหนดเป็นเขตที่จัดพิธีสงฆ์ที่สำคัญ เช่น การทำสังฆกรรมซึ่งมีการสวดปาติโมกข์ทุกสองสัปดาห์ ในเขตพัทธสีมามักจะมีอุโบสถให้คณะสงฆ์ร่วมกันทำสังฆกรรมตามพระวินัย สีมานี้ที่จริงแล้วจะกำหนดเป็นเขตในป่าตามธรรมชาติก็ได้ โดยจัดบริเวณที่ล้อมรอบด้วยป่า หรือมีลักษณะภูมิศาสตร์บางอย่างมาแสดงเขต เช่น สระน้ำ บ่อน้ำ ต้นไม้ เนินดิน โขดหิน เป็นต้น เป็น…

๖ - ทำไม้กวาดมากวาดวัด

อาจารย์ ญาณิโก

๖ - ทำไม้กวาดมากวาดวัด

ครั้งหนึ่ง หลวงปู่แบนธนากโรท่านสอนเรื่องการปัดกวาดหรือใช้ภาษาเก่าว่า “ปัดตาด” ไว้ดังนี้ - “เวลาปัดตาด พากันตั้งใจปัดตาด ถือการปัดตาดนั้นเป็นการทำความพากความเพียรจริงๆ พิจารณาธรรม พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ระหว่างปัดตาดไปนั้น ใจก็จะมีความเบิกบานรื่นเริง แล้วก็มีความเพลิดเพลินอยู่ในข้อวัตรนั้นๆ” ในวัดเรา มีงานกวาดค่อนข้างมากซึ่งใช้ไม้กวาดสองประเภท ทั้งไม้กวาดอ่อนและไม้กวาดแข็ง ไม้กวาดทางมะพร้าวแข…

๕ – ออกบวช

อาจารย์ ญาณิโก

๕ – ออกบวช

วัดพุทธเรามีภารกิจสำคัญคือ การอำนวยโอกาสให้ชาวโลกได้สละวิถีโลกปุถุชนสู่การบรรพชาเป็นสมณะ ในสังคมวัฒนธรรมพุทธแต่ดั้งเดิมเช่นประเทศไทยนั้น มีหลากหลายเหตุผลที่ใครสักคนจะจากบ้านและครอบครัวออกบวชเรียนระยะสั้นหรือยาวก็ตาม เช่น การบวชเพื่อสร้างบุญกุศลตอบแทนพระคุณบิดามารดา หรือเพื่ออุทิศส่วนกุศลและเป็นเกียรติแด่ญาติมิตรผู้ล่วงลับ หรือเพื่อศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรม หรือแม้แต่เพื่อที่ชายหนุ่มจะได้เตรียมฝึกใ…

๔ - รำลึกถึงท้อด

อาจารย์ ญาณิโก

๔ - รำลึกถึงท้อด

วันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา เป็นวันที่ต้นไม้เบิกบานเต้นระบำไปตามกระแสลม บ่ายวันนั้นเอง คณะสงฆ์ได้เดินขึ้นเขาสู่คูลโอ้คซ์ ณ ใจกลางป่าวัดเรา เพื่อไปรำลึกถึงน้องท้อดกัน เด็กชายทัตชา ท้อด ตันสุหัช ได้ลาจากโลกนี้ไปครบ 14 ปีพอดีในวันนั้น ซึ่งยังมีเถ้าอัฐิเก็บไว้ในบ้านหินแกรนิตขาวน้อยๆ ตั้งไว้มีกำบังในโพรงรากของต้นโอ้คซ์เก่าแก่อันสูงตระหง่าน หลังจากช่วยกันทำความสะอาดบริเวณศาลน้อยนี้ให้ท้อด พวกเรานั่งภาวนาก…

๓ - อยู่แถบป่า

อาจารย์ ญาณิโก

๓ - อยู่แถบป่า

วัดเรามีทางเดินรอบยาวกว่า 4 กิโลเมตรหรือ 2.5 ไมล์ เริ่มต้นจากบริเวณศาลา โยมก็เดินขึ้นบันไดปูนผ่านพระพุทธรูปทองไป ทางเดินลาดชันนี้ผ่านทุ่งหญ้าน้อยๆ ชื่อทุ่งหญ้าจอร์แดน ข้ามถนนแล้วเลี้ยวขวา จากนั้นก็จะผ่านทางเข้ากุฏิพระห้าหลัง แล้วเดินข้ามสะพานไม้เล็กๆ เพื่อเข้าสู่ส่วนที่เป็นป่าดงพงไพรอย่างแท้จริง ในช่วงต่อไปราวสองกิโลเมตรครึ่ง หรือ 1.5 ไมล์ จะผ่านทางเข้าบริเวณซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเต้นท์ของหลวงพ่ออมโร…

๒ - ตัดเย็บจีวร

อาจารย์ ญาณิโก

๒ - ตัดเย็บจีวร

จีวรสำหรับพระภิกษุสงฆ์ทุกนิกายนั้นต่างถูกตัดเย็บตามลายนาข้าว สีจีวรต่างกันออกไปตามสีย้อมธรรมชาติที่ใช้กันในแต่ละประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ในธิเบตสมัยโบราณ พระสงฆ์ใช้ดินสีแดงผสมหญ้าฝรั้นสีส้ม ในศรีลังกา จีวรถูกย้อมด้วยไม้มะฮอกกานี ส่วนที่วัดป่ามากมายในประเทศไทย พระสงฆ์ยังคงย้อมจีวรด้วยแก่นขนุนกันอยู่ ต่อมาสีจีวรมีความหลากหลายในแต่ละประเทศที่พุทธศาสนาแพร่เข้าไป วิธีการนุ่งห่มจีวรก็มีหลายแบบ ทว่า ลวดลายน…

๑ - กักตัว…ไม่กักใจ

อาจารย์ ญาณิโก

๑ - กักตัว…ไม่กักใจ

“เสือภูเขา” อาตมาได้ยินเสียงอาจารย์กรุณาธมฺโมจากจุดที่ท่านยืนอยู่ด้านในประตูห้องบูชาของสงฆ์ “ท่านติสสโรและท่านจิตตปาโลเห็นสองตัว ผมเห็นทั้งสองบนทางเดินรอบป่า และในเวลาต่อมาที่กุฏิ ผมได้ยินเสียงกวางวิ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว ผมมองออกไปทางหน้าต่างก็เห็นหนึ่งในเสือภูเขาหรือคูก้าร์เดินมาตามทิศทางทางระเบียง ผมออกไปดูอยู่สักพักจนเจ้าเสือเหลือบเห็นผม ก็หันหลังจากไป แล้วอีกไม่กี่นาทีต่อมา ท่านติสสโรเดินเข้ามา…